แนวทางการปฏิบัติการกู้ชีวิตได้รับการเริ่มต้นจาก 2 กลุ่มหลักๆ คือ
- American Heart Association (AHA)
- European Resuscitation Council (ERC)
เกิดเป็นความร่วมมือที่เรียกวา่ International Liaison Committee On Resuscitation (ILCOR)
การทำ CPR ที่มีคุณภาพต้องทำอย่างไร?
คำว่า CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary resuscitation เป็นเทคนิคการช่วยชีวิตที่มีประโยชน์ในกรณีฉุกเฉิน เช่นหัวใจวายหรือใกล้จมน้ำซึ่งการหายใจหรือการเต้นของหัวใจของผู้ประสบเหตุหยุดลง American Heart Association (AHA) แนะนำว่า
ให้เริ่มทำ CPR ด้วยการกดหน้าอกอย่างหนักและรวดเร็ว ประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที(2 ครั้งต่อวินาที) ลึก 5 ซม.
(ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วสามารถใช้อัตรา 30 ครั้งต่อนาที และเป่าอากาศช่วย 2 ครั้ง)
มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้
- เมื่อพบผู้ประสบเหตุ ให้เขย่าไหล่และถามเสียงดังๆว่า “สบายดีไหม” และรีบตรวจเช็คชีพจร หากพบว่าไม่มีชีพจรให้รีบแจ้ง 1669 ทันทีเพื่อให้รถฉุกเฉินมาในที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุดและ ให้คนอื่น หาเครื่อง AED ในบริเวณใกล้เคียงเช่น ป้อมตำรวจ, รปภ. ในอาคารใกล้เคียง เป็นต้น
- ทำการ CPR ตามหลัก AHA อย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดแม้ผู้ประสบเหตุบาดเจ็บจากการทำ CPR เช่น ซี่โครงหัก เพราะ มีเวลาเพียง 4 นาทีเท่านั้นในการช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุ
- เมื่อเครื่อง AED มาถึงให้รีบแปะแผ่น และทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด (เครื่อง AED จะเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถทำตามขั้นตอนที่เครื่องแนะนำ) ในขั้นตอนนี้ยังคงต้องทำ CPR อย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนการช๊อคด้วยไฟฟ้า ห้ามสัมผัสผู้ประสบเหตุเพราะผู้ช่วยเหลือจะถูกกระแสไฟฟ้าไปด้วย
สรุป การทำ CPR ที่ถูกต้อง เป็น 3 ข้อเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
- เช็คให้แน่ใจว่าผู้ประสบเหตุไม่มีชีพจร รีบแจ้ง 1669
- ทำการ CPR อย่างต่อเนื่อง กดหน้าอก 2 ครั้งต่อวินาที ห้ามหยุด
- ในการใช้เครื่อง AED ต้องระวังในขั้นตอนการช๊อค
เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ได้อย่างภาคภูมิใจ
กล้าช่วยเหลือคนอื่นในการทำ CPR เบื้องต้นในที่สาธารณะแล้ว
สนใจคอร์สฝึกอบรมการทำ CPR ร่วมกับการใช้ เครื่อง AED ติดต่อ
โทร. 02-2701171-4