การทำ CPR คืออะไร?
การทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) คือ การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุกรณีที่ไม่มีชีพจร หรือ ชีพจรอ่อน เนื่องจากเลือดไปเลี่้ยงสมองไม่เพียงพอ ให้กลับคืนชีพจรเป็นปกติ โดยการช่วยปั้มหัวใจให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
ทำไมต้องทำ CPR?
จากหลักสูตรการฝึกอบรมการทำ CPR ของสมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association : AHA) พบว่าการทำ CPR ที่ถูกหลักจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิต 3 เท่า และ หากใช้เครื่อง AED ร่วมด้วยจะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตเป็น 10 เท่า
การทำ CPR ต้องทำกี่ครั้ง?
หลักสูตร AHA กำหนดว่าควรทำ CPR 100-120 ครั้งต่อนาที(ประมาณ 2 ครั้งต่อวินาที) ลึกประมาณ 5 ซม. และไม่ควรหยุดปั้มหัวใจจะกว่ารถฉุกเฉินจะมาถึง แม้ผู้ประสบเหตุจะมีอาการบาดเจ็บ เช่น กระดูกซี่โครงหัก ฯลฯ ก็ต้องทำการปั้มหัวใจต่อไปเรื่อยๆ อย่าหยุด เพราะ หากสมองขาดเลือดเกิน 4 นาที จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การใช้เครื่อง AED เข้าใจง่ายใน 3 นาที
- การทำ CPR ที่ถูกต้องตามหลัก AHA
- กล้องวงจรปิดแบบไหนเหมาะกับธุรกิจคุณ?
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
อาการแบบไหนถึงต้องทำ CPR?
- หมดสติ ไม่รู้ตัว
- ไม่หายใจ หรือชีพจรอ่อน
- หัวใจหยุดเต้น หรือ ตรวจไม่พบชีพจร
SKT SECURITY เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยและกล้องวงจรปิด
ในประเทศใต้หวัน, ประเทศจีน และประเทศไทย
ข้อมูลเครื่อง AED ZOLL เพิ่มเติม >>www.localhost/fix